วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559

ข่าวแปลก:อัฟริกาใช้รั้วน้ำผึ้งไล่ช้าง


รั้วน้ำผึ้งของอัฟริกา – ใช้ไล่ช้าง

ผึ้ง / รูปจากแฟ้ม


ต้องขอบคุณนักสัตววิทยา ดร.ลูซี่ คิง ที่มีโครงการ “ช้างและผึ้ง” จนชาวไร่ชาวนาในชนบทของอัฟริกาไม่ต้องกังวลว่าช้างจะมากินพืชกินผักที่ปลูกเอาไว้อีกแล้ว

แนวความคิดของดร. มีชื่อว่ารั้วน้ำผึ้ง – เป็นวิธีการที่มีต้นทุนต่ำและมาจากสิ่งมีชีวิต -  โดยเอารังผึ้งมาแขวนไว้เป็นระยะๆ ห่างกันรังละหลายเมตร เพื่อไล่ช้างไม่ให้มากล้ำกราย

นอกจากนั้น รั้วน้ำผึ้งเป็นผลพลอยได้ที่สำคัญที่มีแต่ให้กับให้ เพราะชาวไร่ชาวนายังขายน้ำผึ้งเป็นรายได้เสริมได้อีกด้วย

จุดเริ่มต้นของไอเดียนี้มาจากการที่ ดร.ได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งแล้วพบว่าช้างพยายามหลีกเลี่ยงต้นสีเสียด ต้นส้มป่อย ชะอม กระถิน ( acacia ในภาษาอังกฤษ) – ซึ่งเป็นอาหารโปรด – ถ้าพวกมันเห็นรังผึ้งอยู่บนกิ่งไม้ของต้นไม้เหล่านี้

หลังจากนั้น ดร.ก็ใช้เวลาอีกหลายปีศึกษาพฤติกรรมของช้าง อย่างเช่นการบันทึกภาพพฤติกรรมของมันเวลามันได้ยินเสียงหึ่งๆของฝูงผึ้งที่เปิดผ่านลำโพง ดร.ใช้ข้อมูลที่เก็บมาได้ เริ่มพัฒนาระบบรั้วน้ำผึ้งขึ้นมา

ดร.เอาลวดหนึ่งเส้น มัดกับเสาไม้ ซึ่งตั้งอยู่ห่างกันต้นละสิบแมตร แล้วเอารังผึ้ง (เป็นรังแบบเดียวกับรังผึ้งเลี้ยง)ไปแขวนไว้

วารสารอัฟริกา จีโอกราฟิก รายงานว่า ช้าง “ตามกลิ่นไปหาพืชผักหรือกระสอบใส่ข้าวโพดของชาวนาชาวไร่” ถ้าช้างหิวพอประมาณ มันจะกินอาหารวันละ 400 กิโล – ซึ่งอาจจะทำให้ชาวนาในชนบทไม่เหลืออะไรเลย

ชาวไร่ชาวนาเคยตอบโต้กับการถูกช้างเข้ามากินพืชไร่พืชสวนด้วยวิธีเก่าๆ เช่น ร้องตะโกน จุดไฟไล่ ขว้างด้วยก้อนหิน ปาระเบิดพริก ตีกลองหรือปล่อยสุนัข หรือในกรณีที่ร้ายแรงที่สุด พวกเขาอาจใช้หอก ใช้หน้าไม้ ซึ่งเป็นอันตรายกับทั้งคนและสัตว์

รั้วไฟฟ้าดูเหมือนจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้ แต่สำหรับชาวไร่ชาวนา มันไม่ใช่เพราะค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องแพงเกินไป นอกจากนั้น วารสารอัฟริกา จีโอกราฟิกก็ยังรายงานว่า “รั้วไฟฟ้าจะตัดเส้นทางสัญจรของสัตว์ เป็นผลให้เกิดการโอเวอร์เกร็ซซิ่ง ( overgrazing โอเวอร์เกร็ซซิ่งคือสภาวะที่มีสัตว์อยู่รวมกันมากเกินไปจนกินอาหารหมด เกิดสภาวะดินขาดแร่ธาตุ หญ้าไม่ขึ้น  – ในที่นี้หมายถึงนอกแนวรั้วไฟฟ้า-  ) เป็นผลเสียต่อระบบนิเวศอย่างถาวร”

ในทางกลับกัน รั้วน้ำผึ้งเป็นรั้วที่มาจากสิ่งมีชีวิต รั้วแบบนี้มีผลดีตรงที่ช้างกลัวเสียงผึ้ง ซึ่งอาจเป็นเพราะผิวหนังบริเวณน่องของช้างค่อนข้างจะบอบบาง หรือถ้าช้างถูกผึ้งต่อยภายในโพลงของงวง ช้างจะเจ็บปวดมาก

“เราเอารังผึ้งไปแขวนไว้ โดยทิ้งระยะห่างกันทุกๆ 30 ฟุตตลอดแนว” ดร.กล่าว “ถ้าช้างไปโดนรังผึ้งรังใดรังหนึ่ง หรือไปโดนลวดที่ขึงเอาไว้ รังผึ้งที่อยู่ตามเสาจะแกว่งและปล่อยผึ้งออกมา”

(อ่านต่อวันพรุ่งนี้นะจ๊ะ)

รูปจากแฟ้ม

อ่านข่าวแปลกได้ที่นี่ทุกวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น