วันนี้หวยออกก็เลยเอามาให้อ่าน มันเป็นอุทาหรณ์ที่ดีของชาวแบงก์นะจะบอกให้
![]() |
Photo credit: Pixabay.com |
การยักยอกเงินเกือบ 51 ล้านหยวน ($6.7 ล้าน) จากธนาคารเพื่อการเกษตรของจีน
(เอบีซี) สาขาฮานดังในมณฑลเหอเป่ย (ห่างจากกรุงปักกิ่งประมาณ
300 ไมล์) ระหว่างวันที่ 16 เดือนมีนาคมจนถึงวันที่ 14 เมษายน 2007 โดยผู้จัดการห้องนิรภัยสองคน
เป็นการโจรกรรมเงินของธนาคารที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของจีน
ความคิดที่จะโจรกรรมเงินของธนาคารเริ่มขึ้นเมื่อเหรียญ เชียงฟง
ผู้จัดการคนหนึ่ง ขโมยเงิน 200 000 หยวน (ประมาณ $ 26 000) ในเดือนตุลาคม 2006
โดยมีรปภ.สองคน คือ เฉา ชูนาน และ ฉาง กวน ให้ความร่วมมือ
เหรียญเอาเงินไปซื้อล็อตเตอรี่ เขาหวังจะถูกรางวัลใหญ่
จะได้มีเงินมาคืนธนาคารก่อนที่จะมีคนสังเกตและมีเงินติดกระเป๋าเอาไว้ใช้
มันออกจะแปลก แต่เหรียญทำสำเร็จ เขาสามารถเอาเงิน 200 000 กลับมาใส่ไว้ในตู้ได้
เมื่อครั้งแรกทำสำเร็จ เหรียญก็ได้ใจ คราวนี้เขาร่วมมือกับผู้จัดการอีกคนชื่อ
หม่า เฉียนจิง ทำเรื่องแบบนี้อีกครั้ง
คราวนี้ทำในปริมาณเงินที่มากกว่าเดิมมาก
คนทั้งสอง - ซึ่งแต่ละคนอายุ 30 กว่า -
วางแผนจนกระทั่งถึงกลางฤดูใบไม้ผลิต่อมา จึงตัดระบบรักษาความปลอดภัยของธนาคารแล้วฉกเงินสดออกมาอีก
32.96 ล้านหยวน (ประมาณ $4.3 ล้าน) เมื่อตำรวจเห็นสัญญาณขาดหายไป พวกเขาจึงโทรไปที่ธนาคาร
เหรียญแก้ตัวกับตำรวจว่าระบบเสีย ตำรวจจึงเลิกสนใจ...อย่างน้อยก็ในตอนนั้น
เหรียญและหม่าใช้เงินเกือบทั้งหมด (หรือ 31.25 ล้าน) ซื้อล็อตเตอรี่
คราวนี้เทพแห่งโชคไม่เข้าข้าง หมดตูด
พอเข้าตาจน เมื่อวันที่ 14 เมษายน พวกเขาจึงขโมยเงินอีกหกกล่อง
คิดเป็นเงิน $18 ล้านหยวน (ประมาณ $ 2.3 ล้าน)
แล้วใช้มันหมดไปกับล็อตเตอรี่ภายในวันเดียว
พวกเขาซื้อล็อตเตอรี่ทีละมากๆได้โดยไม่มีใครสงสัยเพราะในขณะนั้นจีนกำลังเปลี่ยนถ่ายระบบมาเป็นระบบอีเล็คโทรนิค
เงินสดจึงยังเป็นพระเจ้า คราวนี้ พวกเขาได้เงินรางวัลมา 98 000 หยวน (ประมาณ$12
700) ซึ่งไม่มีทางกลบหลุมขนาดเบ่อเริ่มเทิ่มที่ขุดเอาไว้ได้เลย
ในวันที่ 16 เมษายน ผู้จัดการสาขาของเอบีซีพบว่าเงินหายไป
จึงแจ้งตำรวจ ในเมื่อมีเงินไม่พอที่จะมาหักลบกลบหนี้ เหรียญกับหม่าจึงใช้เงินรางวัลอันน้อยนิดซื้อบัตรประชาชนปลอมและรถแล้วหลบหนี
ตำรวจจึงตามล่าเขาอย่างไม่ลดละ
กระทรวงมหาดไทยเอาคนทั้งสองไปอยู่ในรายการของผู้ร้ายที่ต้องการตัวมากที่สุด
หม่าถูกจับที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 18 เมษายน ส่วนเหรียญถูกจับในวันต่อมาที่เลียนยูนกัง
เมืองชายทะเลในมณฑลเจียงซู ในศาลเหรียญสำนึกผิดและเขียนวิธีการปฏิบัติงาน ยาวเป็นหางว่าว
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกในอนาคต
เหรียญและหม่าถูกตั้งข้อหายักยอกทรัพย์
ในขณะที่รปภ.อีกสองคนถูกตั้งข้อหายักยอกและเอาเงินทุนของสหายประชาชนไปใช้ในทางที่ผิด
ชายคนที่ห้า ซง ชางไห่ ถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาให้ความช่วยเหลือหม่าในการหลบหนี
ผู้สมรู้ร่วมคิดทั้งสามคนถูกตัดสินให้จำคุกคนละห้าปีในขณะที่ผู้จัดการทั้งสองถูกตัดสินประหารชีวิต
เจ้าของบ้านหลังหนึ่ง คนขับแท็กซี่คนหนึ่งและพนักงานขายรถคนหนึ่งในเลียนยูนกัง
ซึ่งช่วยตำรวจจนสามารถจับตัวคนร้ายได้ๆเงินรางวัลนำจับ 200 000 หยวนไปแบ่งกัน
ส่วนที่ธนาคารที่ฮานดัง พนักงานธนาคารห้าคนถูกไล่ออก ตำรวจเอาเงินคืนมาได้เพียง 5.5
ล้านหยวนและคาดว่าเงินที่เหลือคงกระจายไปอยู่กับเจ้ามือหวยใต้ดิน
เหรียญและหม่าถูกประหารในมณฑลเหอเป่ยเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2008
เรื่องนี้เกิดขึ้นมาแล้วกว่าเจ็ดปี
และถูกนำมารายงานอีกครั้งเนื่องในโอกาส
“วันรณรงค์ต่อต้านการลงโทษด้วยการประหารชีวิตโลก” ที่ผ่านมา
ทิป: เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2015 ที่ผ่านมาเป็น
“วันรณรงค์ต่อต้านการลงโทษด้วยการประหารชีวิตโลก” ครั้งที่ 13 ของ Amnesty International
Amnesty
International หรือ Amnesty หรือ AI คือองค์การนิรโทษกรรมสากล เป็นองค์การเอกชนที่มีจุดประสงค์
"ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"
องค์การนิรโทษกรรมสากลก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอนในปี ค.ศ. 1961 ในปี ค.ศ. 1977
องค์การนิรโทษกรรมสากลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับ
"การรณรงค์ต่อต้านการทรมาน"
และในปี 1978 ได้รับรางวัลจากองค์การสหประชาชาติในสาขาสิทธิมนุษยชน รายงานล่าสุดขององค์การฯ ชี้ ในปี 2014
ที่ผ่านมา มีนักโทษถูกประหารชีวิต 607 รายใน 22 ประเทศทั่วโลก
องค์กรฯได้เข้าไปรณรงค์ต่อต้านการลงโทษด้วยการประหารชีวิตในจีนมานานแล้ว องค์กรฯได้เข้าไปรณรงค์ต่อต้านการลงโทษด้วยการประหารชีวิตในจีนมานานแล้ว
ขอขอบคุณภาพจาก: www. Pixabay.com
อ่านข่าวแปลกได้ที่นี่ทุกวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น