ผัวเดียวเมียเดียวมันเชยไปแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องผัวเยอะ เมียเดียว – นักเศรษฐศาสตร์แนะ

Tea
Photo credit: Pixabay.com

Photo credit: Pixabay.com
“นั่นเป็นทางแก้ปัญหาการมีชายโสดมากกว่าผู้หญิงของจีน”
ฉี ชูชิ ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และการคลังฉีเจี้ยนเขียนในบล็อก
อาจารย์เสนอแนวความคิดที่อนุญาตให้ผู้หญิงมีสามีหลายคนจนกลายเป็นเรื่องราวอึกทึกครึกโครมในสังคม
“การแต่งงานอย่างถูกกฎหมายระหว่างชายกับชายก็เป็นความคิดที่ดีอีกอย่าง”
อาจารย์ฉีโพสต์ในบล็อก แต่ไม่นานก็ลบออกไป (อาจารย์มีบล็อกอย่างน้อยสามบล็อก แค่ในซีน่า
บล็อก ก็มีคนติดตามมากกว่า 2.6
ล้านคน)
เป็นที่คาดว่าจะมีชายโสดในเมืองจีน
30 ล้านคนในปี 2020 – คนจีนเรียกชายโสดเหล่านี้ว่า “กวงกัน” หรือ
“กิ่งไม้ไร้ใบ”
นโยบายคุมกำเนิด
(เริ่มต้นตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมา รัฐบาลจำกัดให้ครอบครัวหนึ่งมีลูกได้คนเดียว)
บวกกับความต้องการที่จะมีบุตรชายเอาไว้สืบสกุลซึ่งมีอยู่อย่างแพร่หลาย บวกกับการทำแท้งเพื่อเลือกเพศของบุตร
ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางเพศ โดยมีอัตราการเกิดของเด็กชาย 117 ต่อเด็กหญืง 100 คน
ข้อเสนอนี้อาจมีกลิ่นไอของโจนาธาน สวิฟท์ แต่อาจารย์ฉีเขียนว่าเขามองปัญหาด้วยมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ล้วนๆ
อาจารย์ฉีตั้งข้อสังเกตว่า
ผู้ชาย – โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกที่ยากจน – จำนวนมากจะหาภรรยาไม่ได้ พวกเขาตกอยู่ในสภาพที่มีชีวิตอยู่และตายไปโดยไม่มีลูกหลานคอยดูแลต่อแก่ชรา
(ตามกฎหมายของจีน ลูกมีหน้าที่ต้องดูแลพ่อแม่) แต่อาจารย์เชื่อว่ามันมีทางออก
อาจารย์อธิบายว่า
“ราคาของสินค้าจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีการขาดแคลน – ในกรณีนี้ สินค้าก็คือผู้หญิง ผู้ชายรวยๆสามารถหาภรรยาได้
แต่ผู้ชายจนๆหมดสิทธิ์
แต่ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการให้ผู้ชายสองคนแบ่งผู้หญิงคนเดียวกันใช้”
อาจารย์โพสต์ว่า
“การมี‘กิ่งไม่ไร้ใบ’มาก มีผู้หญิงน้อย ราคาของพวกเธอจึงเพิ่มขึ้น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตลาดจะไม่สามารถปรับตัวได้
ว่าที่จริง ปัญหาของพวกกิ่งไม้ไร้ใบก็คือปัญหาเรื่องรายได้ ผู้ชายที่มีรายได้เยอะสามารถหาผู้หญิงได้เพราะเขาสามารถจ่ายราคาที่สูงชึ้นได้
แล้วผู้ชายรายได้น้อยล่ะ? ทางแก้อย่างหนึ่งก็คือให้ผู้ชายหลายคนมีเมียคนเดียวกัน”
อาจารย์เสริมว่า
“มันไม่ใช่ความคิดที่แปลกพิสดารของผมคนเดียว ในบางพื้นที่ๆห่างไกลและยากจน
พี่น้องก็แต่งงานกับผู้หญิงคนเดียวกันมาแล้วๆพวกเขาก็มีชีวิตที่เติมเต็มและมีความสุข”
ประเพณีหนึ่งหญิงหลายชายเคยถูกนำมาใช้มาแล้วในประเทศจีน(
ในศตวรรษที่ 18 และ 19) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในถิ่นทุรกันดาร
มันเป็นวิธีการใช้ทรัพยากรร่วมกันและหลีกเลี่ยงการแบ่งแย่งทรัพย์สมบัติ
แต่เสียงตอบรับในโซเซียลที่มีต่อขอเสนอของอาจารย์ฉีออกไปในทางที่เป็นเดือดเป็นแค้นเสียมากกว่า
“นี่คนพูดหรือเปล่า”
สมาชิกเหวยโบคนหนึ่งเม็นต์
“ปากหมาน่า
จารย์ มีหนุมเยอะอยากรู้ว่า เมียจารย์อยู่ไหน” คนอ่านอีกคนโพสต์
ผู้สื่อข่าวพยายามติดต่ออาจารย์ฉีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาแต่ไม่สำเร็จ
เมื่อวันอาทิตย์
อาจารย์ออกมาตอบโต้อย่างเผ็ดร้อนในบล็อกๆหนึ่ง โดยกล่าวว่าคนที่ด่าเขา...มีมันสมองที่มีแต่ศีลธรรมที่ล้าหลังและเห็นแก่ตัว...เข้าขั้นปากว่าตาขยิบก็ว่าได้
“แค่ผมเสนอความคิดว่าเราควรปล่อยให้ผู้ชายจนๆแต่งงานกับผู้หญิงคนเดียวกันเพื่อแก้ปัญหากิ่งไม้ไร้ใบสามสิบล้านคน
ผมเลยถูกด่าแบบไม่ยั้ง” อาจารย์เขียน “มีคนโทรศัพท์มาที่มหาวิทยาลัยเพื่อจะตำหนิผม
คนพวกนี้กล่าวหาว่าผมโปรโมตความคิดที่ผิดศีลธรรม”
“ถ้าคุณหาวิธีที่ไม่ผิดศีลธรรมไม่ได้
แล้วมาด่าผมทำไมที่ผิดศีลธรรม?
คุณอยู่ข้างคู่สามีภรรยาที่มีผู้ชายหนึ่งคนผู้หญิงหนึ่งคน
แต่ศีลธรรมของคุณกำลังจะทำให้มีกิ่งไม้ที่ไม่มีใบสามสิบล้านคนอยู่อย่างไม่มีหวังที่จะมีภรรยา
แล้วคุณเรียกนั่นว่าศีลธรรมเหรอ?”
นอกจากจะกระตุกหนวดของคนทึ่ยึดมั่นในศิลธรรมที่ตกทอดกันมาแล้ว ข้อเสนอแนะก็ยังไปกระทบกับปากเสียงของกลุ่มที่เรียกร้องสิทธิ์ของเกย์และกลุ่มที่เรียกร้องสิทธิ์สัตรี
“พวกผู้ชายเถียงกันอย่างเปิดเผยว่าจะแบ่งสันปันส่วนผู้หญิงกันยังไง
พวกเขาทำอย่างกับว่าผู้หญิงเป็นสินค้าเหมือนบ้านเหมือนรถ” เฉิน ชูเหลียง
นักกิจกรรมเพื่อสิทธิ์สตรี ซึ่งเป็นสตรีหนึ่งในห้าคนที่ถูกจับกุมเมื่อเดือนมีนาคม
เขียนบทความให้กับกลุ่ม วี แชท กรุ๊ป ที่ใช้ชื่อว่า กราวน์เบรกกิ้ง (ขออภัยด้วยถ้าอ่านชื่อเธอผิด)
“สิ่งที่อยู่ลึกลงไปในความไม่สมดุลทางเพศของชายโสดสามสิบล้านคน
ก็คือเด็กหญิงสามสิบล้านคนซึ่งต้องตายก่อนเกิดเพราะพ่อแม่อยากได้ลูกผู้ชาย
แต่ทุกคนกลับมาร้องแรกแหกกระเชอที่มีผู้ชายจำนวนหนึ่งหาเมียไม่ได้”
แต่อาจารย์ฉีก็มีคนสนับสนุนเช่นกัน
ในซีน่า บล็อกของอาจารย์ อาจารย์โพสต์เม็นต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เขียนว่า
“จารย์ยืนอยู่เคียงข้างกับชนชั้นกรรมาชีพที่ยากจนที่สุด
เมื่อยังไม่มีวิธีที่ดีกว่านี้
ทำไมเราไม่โยนสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมอันดีทิ้งแล้วแก้ปัญหาสังคมเสียก่อน”
เกล็ดเล็กน้อย:
โจนาธาน สวิฟท์ เกิด 30 พฤศจิกายน 1667 เสียชีวิต 19 ตุลาคม 1745
สวิฟท์เป็นนักเขียนนวนิยาย
เป็นนักเขียนแนวเสียดสีประชดประชัน นักเขียนเรื่องมโนสาเร่ และ นักวิจารณ์การเมือง สวิฟท์มีงานเขียนแนวนวนิยายหลายเรื่อง
ที่มีชื่อเสียงได้แก่ Gulliver's Travels (การเดินทางของกัลลิเวอร์)
เป็นต้น
อาจถือได้ว่าสวิฟท์เป็นผู้นำของนักเขียนแนวเสียดสีประชดระชันของวรรณกรรมอังกฤษ
แต่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักในงานเขียนแนวอื่น
ขอขอบคุณภาพจาก:www.Pixabay.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น