![]() |
ตะขาบหัวแดง colopendra subspinipes mutilans Photo credit: Wikimedia Commons (รูปแทน) |
ดูเหมือนมันจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยๆไปแล้ว
เพราะเมื่อเร็วๆนี้ผู้หญิงคนหนึ่งต้องเอาสัตว์เลื้อยคลานออกจากรูหู
สัตว์เลื้อยคลานนั้นคืออะไร? สัตว์เลื้อยคลานนั้นไซร้คือตะขาบน้อยธรรมดา
ข่าวรายงานว่าตะขาบตัวนี้คงเลื้อยเข้าในหูของเธอแล้วขดอยู่ในนั้นตอนเธอหลับ
มันทำตัวตามสบายเหมือนอยู่กับบ้านตอนเธอกำลังหลับสนิท แต่มันคงสบายเกินไปจึงอยากกระดุกกระดิกบ้าง
หมอในเมืองจีนถูกเรียกให้มาผ่าตัด เอาเจ้าสัตว์ตัวนั้นออกมา อย่างด่วน
เจ้าสัตว์ตัวเล็กวิ่งเล่นอยู่ในหูของเธอเหมือนรถไต่ถัง
มันออกมาแพ๊พนึ่งเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ผลุบกลับลงไปใหม่
หมอพยายามเอาคีมดึงมัน แต่ไม่ได้ผล สุดท้าย
หมอต้องใช้ไม้ตาย เอาน้ำเกลือหยอดเข้าไปเด็ดชีพมันก่อนที่จะเอามันออกมา
โชคดีที่หญิงคนนี้มีบาดแผลในรูหูนิดเดียวเท่านั้น
ทิป: ตะขาบหัวแดงของจีน (Chinese red-headed centipede หรือ Scolopendra subspinipes mutilans)เป็นตะขาบที่พบในเอเซียตะวันออกและออสเตรเลเซีย(ออสเตรเลีย+เอเซีย) มันมีความยาวเฉลี่ย
๒๐ เซ็นต์และอาศัยอยู่ในที่ชื้นแฉะ (บ้านเราเรียกว่าตะขาบอะไรก็ไม่รู้นะครับ)
คนจีนโบราณเชื่อว่าตะขาบหัวแดงสามารถใช้รักษาโรค
ถ้าเอามันไปวางไว้ตรงที่เป็นผื่นคันหรือเป็นโรคผิวหนังอื่นๆ จะทำให้หายเร็ว (อย่าทำโดยพลการ โปรดปรึกษาผู้รู้ก่อน)
มาทางฟากออสเตรเลียบ้าง
นักวิทยาศาสตร์ที่นั่นพบว่าพิษของตะขาบหัวแดงมีสารชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถขจัดความเจ็บปวดได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน
โดยพวกเขาได้ทำการทดลองกับหนูมาแล้ว
ในการวิจัย นักวิจัยเอาหนูมาฉีดโมเลกุลที่สกัดมาจากพิษของตะขาบหัวแดง
หนูจะแสดงอาการเจ็บปวดน้อยลงเมื่อเจอกับความร้อน กับกรดและกับยาแปลกๆที่ฉีดให้มัน
หมายเหตุ: ตะขาบมีหลายชนิด บทความข้างต้นเป็นคุณสมบัติของตะขาบหัวแดงเท่านั้น
ตะขาบชนิดอื่นอาจไม่มีคุณสมบัติเช่นนี้ นอกจากนั้น ตะขาบทุกชนิดก็มีพิษ
กัดเจ็บทุกตัวนะจ๊ะ
ขอขอบคุณภาพจาก:Yasunori Koide (own work)via.Wikipedia
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น